Quantcast
Channel: Blognone - IdeaPad
Viewing all 37 articles
Browse latest View live

Review – Lenovo IdeaPad Y570

$
0
0

การ review รอบนี้อาจจะแปลกสักหน่อยที่ไม่ได้ review ตัว ThinkPad แต่ก็อยากจะลองในอีกสายนึงของ Lenovo คือฝั่ง IdeaPad บ้าง โดยส่วนตัวแล้วนั้นได้รับเครื่องนี้มา review มาใช้อยู่ประมาณเกือบๆ 2 อาทิตย์ พร้อมๆ กันถึง 2 รุ่น คือ Lenovo IdeaPad Y570 (59301113) กับ Lenovo IdeaPad Y470 (59067781) ส่วนตัวแล้วก็มานั่งสลับใช้งานไปพร้อมๆ กันทั้ง 2 เครื่อง

สัมผัสแรกก่อนเลยคือ กล่องบรรจุของ Y570 นั้นใหญ่และหนักใช้ได้เลย (ต่อไปจะเรียก Lenovo IdeaPad Y570 ย่อๆ ว่า Y570 เฉยๆ เพื่อความสั้นกระชับ) ซึ่งแน่นอนว่าจากที่ได้รับมานั้น ก็ได้ศึกษาสเปคมาพอสมควรแล้วว่าเป็นรุ่นหน้าจอขนาด 15.6” มีน้ำหนักอยู่ในระดับเกือบๆ 3 กิโลกรัม (รวม adapter มันก็ประมาณนี้แล้ว)

DSC_6944

DSC_6957

เครื่องที่ได้รับมานั้นได้ใส่ CPU Intel Core i7-2630QM ที่ความเร็ว 2.0 GHz มี 6MB L3 Cache ถ้าใช้ Turbo Boost จะทำให้ความเร็วพุ่งสูงขึ้นไปที่ 2.90 GHz เลยทีเดียว เหมาะกับเอามาตัดต่อวิดีโอ แต่งรูป หรือเล่นเกมได้สบายๆ

โดยมาตรฐานแล้ว Lenovo ใส่ RAM มาให้เป็นพื้นฐานเลยคือ DDR3 ขนาด 4GB 1,333Mhz แถมใส่มาแถวเดียวเลยเผื่ออัพเพิ่มในอนาคตได้ทันทีไม่ต้องถอดของเก่าขายทิ้ง เมื่อได้ RAM มาถึง 4GB ผมจึงแนะนำให้ลง Microsoft Windows 7 64bit หรือ Operating System รุ่นอื่นๆ แบบ 64bit เพื่อให้ได้ใช้งานหน่วยความจำได้อย่างเต็มที่เช่นกันครับ

Untitled

ส่วนของคะแนนของ Windows Experience Index นั้น จะเห็นว่าคะแนน Windows Aero ต่ำอาจเพราะใช้ VGA ตัวของ Chipset Intel เองเลยดูจะด้อยๆ ลงไป เสียดายมาก ผมหาแผ่นเกมโหลดหนักๆ โหดๆ ไม่ได้ตอนทดสอบ อยากลอง NVIDIA GeForce GT 555M (1GB GDDR5) เหมือนกัน

Untitled2

ด้วย Intel Core i7-2630QM เมื่อเปิด Intel Hyper-Threading Technology จะเห็นจำนวน Core เป็น 8 ตัว (จริงๆ มี 4 แต่ทำงานได้ 8 Thread พร้อมกัน)

การ์ด Wireless นั้นให้มาเป็น Intel Centrino Wireless-N 1000 ซึ่งเป็นแบบ Dual-stream (1x2) ในแบบ single-band (2.4 GHz) รองรับ 802.11b/g/n WiFi Standard ซึ่งให้ความเร็วสูงสุดที่ 150Mbps ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานตามบ้านครับ

สำหรับ HDD นั้นระบุว่าเป็น 750GB 5400rpm นั้น ให้เป็น Western Digital Scorpio Blue 750 GB ครับ ถ้าซื้อมาแล้วแนะนำให้เปลี่ยนเป็น Western Digital Scorpio Black 500 GB 7200rpm จะทำให้เร็วขึ้นกว่านี้ได้อีกพอสมควร

Untitled3

มาดูด้านรูปร่างหน้าตากันบ้าง สิ่งแรกที่เห็นตอนเปิดออกมาจากกล่องคือออกแบบเรียบๆ ดูหรูดีในมุมคนใช้ ThinkPad มาก่อน น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่ชอบอะไรดำๆ ทึมๆ เท่าไหร่นัก

DSC_6930

Slot สำหรับอ่าน Memory Card แบบ 6 in 1 อยู่ตรงกลางเลยและด้านขวาเป็นสวิตซ์สลับการ์ดจอบน Intel Chipset กับ NVIDIA Optimus และขวาสุดเป็นสวิตซ์เปิด-ปิด Wireless Network ทั้งหมด

DSC_6933 DSC_6934

ด้านขวาของเครื่องมี USB 3.0 มาให้ 2 port ให้มาแบบจัดหนักมากอันนี้ถือว่าดีมากสำหรับส่วนนี้ แน่นอนว่าเครื่องใหญ่ขนาดนี้ต้องมาพร้อมกับ SuperMulti Drive ส่วนถัดมาด้านข้างคือที่เสียบสายชาร์จพร้อมกับ Kensington Lock

สำหรับด้านซ้ายมี D-Sub/VGA Port และ HDMI สำหรับนำสัญญาณภาพจากเครื่องเราออกไปจอภาพภายนอก ส่วนถัดมาคือแผงระบายความร้อนขนาดใหญ่ทีเดียว หลายคนคิดว่ามันต้องร้อนและเสียงดังแน่ๆ แต่จากการใช้งานและในห้องเงียบๆ ถ้าไม่ Full Load เสียงจะหึ่งๆ เล็กๆ เท่านั้นเองครับ ถัดมาคือ Gigabit Ehternet Port ต่อด้วย e-SATA Powered USB 2.0 ในตัว ถัดมาคือ USB 2.0 และช่องต่อหูฟังและไมค์แยกกัน (แปลกมาก เพราะรุ่นหลังๆ จะเป็น combo มาให้)

ด้านหลังเครื่องไม่มีอะไรให้ต่อครับ แผงใส่แบตล้วนๆ ยาวจากขอบบานพับซ้ายไปขวาเลย เป็นแนวการใส่แบตของ Lenovo แบบมานี้ได้หลายปีแล้ว ซึ่งการทำแนวการใส่แบตแบบนี้ทำให้การเพิ่มเซลแบตเพื่อเพิ่มจำนวนชั่วโมงการใช้งานทำได้ง่ายขึ้น (และหนักขึ้นด้วย)

DSC_6937 DSC_6939

DSC_6942 DSC_6987

เมื่อเปิดฝาเครื่องมา การผลักฝาเครื่องไม่ยากเลย ลื่นและง่ายไม่ต้องจับตรงที่วางมือเพื่อดันตัวจอภาพขึ้นมาแต่อย่างใด ซึ่งเจ้า Y570 นี้ไม่มีตะขอเกี่ยวจอแต่เป็นแม่เหล็กในการดูดที่ขอบด้านล่างของที่วางมือแทนตามสมัยนิยมครับ

สำหรับจอภาพที่ให้มานั้นขนาด LCD LED 15.6" resolution WXGA (1366x768 pixel) ดูๆ แล้ว resolution ที่ให้มาจะน้อยไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับขนาดของจอภาพที่ใหญ่เต็มตาแบบนี้ (ถ้ามัน Full HD จะดีมากเลยทีเดียว) แต่คงเพราะต้องการทำราคาให้ถูกให้ได้มากที่สุดเป็นหลักมากกว่า

จากการวัด Gamut RGB color space ของจอภาพ Lenovo IdeaPad Y570 ที่ได้จาก Spyder3Pro นั้น ซึ่งจอภาพเครื่องที่ได้มาทดสอบเป็นแบบ Glossy การแสดงขอบเขตของสีดีกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ LCD LED แบบ Anti-glare ปรกติใน ThinkPad เล็กน้อยมากในบางช่วงโทนสี โดยลองดูขอบเขตการแสดงผลของสีจอภาพเทียบกับ sRGB และ AdobeRGB ได้จาก Chart ด้านล่างครับ

DSC_6977

2011-07-31_030117

ดูบานพับกันชัดๆ อีกที ลักษณะของการเปิดจอแบบนี้จะทำให้เราเปิดกางแบบ 180 องศาไม่ได้แน่นอน มากสุดตามที่ระบุไว้คือ 135 องศาก็เต็มที่แล้ว สำหรับคนที่ชอบแนวๆ นี้คงดูไม่ซีเรียสมากนักครับ

ลำโพงที่ให้มาเป็น 2.0 JBL Dolby Home Theatre SRS ทำให้ฟังเพลงได้เสียงที่ดีทีเดียว แต่ถึงจะดียังไงก็อยู่ในระดับเสียงช่วงนึงเท่านั้น พอผ่านช่วงเสถียรของเสียงที่ได้ จะเริ่มแตกและรายละเอียดเริ่มหาย เพราะฉะนั้นถ้าต้องการเปิดดังๆ ก็ควรต่อลำโพงแยกชุดดีๆ ไปอีกชุดตามกำลังทรัพย์และความพึงพอใจครับ

DSC_6943 DSC_6952

ตัวคีย์บอร์ดที่ให้มานั้นมาพร้อมกับ Numpad ด้วย ซึ่งคนเล่นเกมคงชอบกันเพราะนอกจากจอภาพที่ใหญ่ 15.6” แล้วยังใช้ Numpad ในการทำประโยชน์ตอนเล่นเกมส์ได้ ส่วนคนที่ทำบัญชีหรือทำงานกับตัวเลขเยอะก็น่าจะเหมาะเช่นกัน แต่ด้วยขนาดจอภาพที่ใหญ่โตก็คงต้องชั่งใจสักหน่อยในส่วนนี้ถ้าต้องเดินทางบ่อยๆ ครับ

ตัวคีย์บอร์ดนั้นเป็นไปตามสมัยนิยม แบบ Chiklet โดยตรงกลางจะเว้าลงเล็กน้อยให้รับกับนิ้วมือของเรา จากการที่ลองพิมพ์อาจจะต้องปรับตัวสักเล็กน้อยสำหรับคีย์บอร์ดแบบ 6 rows (คนใช้คีย์บอร์ดแบบ 7 rows มาก่อนอาจจะดูแปลกๆ) ซึ่งสัมผัสการพิมพ์ต่างๆ นั้นทำได้ดี อาจจะไม่แน่นเท่า ThinkPad แต่ก็พิมพ์สสัมผัสสนุกสนานและรวดเร็วได้สบายๆ โดยไม่เกิดอาการล้าเพราะอาการยวบของคีย์บอร์ดให้เห็นในการใช้งานแต่อย่างใด

สำหรับตัวคีย์บอร์ดนั้น ปุ่ม fn และตามด้วย function key (f1-f12) นั้นเราสามารถปรับสลับใน BIOS ได้ครับ และเจ้าตัวปุ่ม fn และ ctrl ก็สามารถตั้งสลับการใช้งานได้อิสระเช่นกัน สำหรับคนที่คุ้นเคย fn ในตำแหน่ง ctrl มากกว่าแบบมาตรฐานที่ให้มาครับ

ในส่วนของ Touchpad นั้นต้องยอมรับว่าโดยส่วนตัวแล้วต้องปรับตัวอยู่พอสมควรเพราะไม่ลื่นเท่าที่เคยใช้งานมา (หรือเพราะมันยังใหม่อยู่ก็ไม่รู้) โดยรวมแล้วนั้นปุ่มกดต้องออกแรงสักหน่อยไม่งั้นจะกดไม่ลงครับ ตรงนี้ต้องอาศัยคามเคยชินสักนิด ส่วนสัมผัสในการลากไป-มานั้นต้องฝึกหน่อยก็น่าจะเข้าที่เข้าทาง ในส่วนนี้ตามมาตรฐาน Notebook ทั่วไปครับ ส่วนที่มีมาแน่ๆ คือ Multi-touch ใส่มาแทบจะเป็นมาตรฐานไปแล้วสำหรับ Notebook ในปัจจุบัน

DSC_6964 

DSC_6953 DSC_6955

ด้านล่างตัวเครื่องแบ่งส่วนๆ แผงใหญ่สุดคือส่วนของที่เปิดออกมาเพื่อปรับเปลี่ยน RAM, HDD, PCI-e ได้ในแผงเดียวเลย ซึ่งเปิดแผงออกมาหมดก็จะแบ่งสัดส่วนชัดเจนครับ ง่ายต่อการเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองไม่ยากนัก

DSC_6993

DSC_6980

มี PCI-e ว่างอยู่ 1 Slot เผื่อใส่ SSD แบบ mSATA หรือ Intel Turbo Memory ก็ได้

DSC_6983 DSC_6984

ส่วนของ HDD ตอนแกะมาเปลี่ยนอาจจะต้องระวังสักหน่อยนะครับ เพราะตัวพลาสติกบางสักหน่อย

ส่วนของระบายความร้อน CPU Core i7 นี่ให้มาใหญ่ใช้ได้เลย และใกล้ชิดกับตัวแพงระบายความร้อนมาก คาดว่าเพราะความร้อนของ CPU ด้วยเลยต้องออกแบบมาเป็นแบบนี้

DSC_6985 DSC_6986

กล่าวโดยสรุป

ส่วนตัวแล้วจากการได้ทดสอบ Lenovo IdeaPad Y570 เป็น Notebook ที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบความตื่นเต้นเร้าใจในด้านความบันเทิงอย่างมาก ด้วยจอภาพขนาด 15.6"มาพร้อมกับ nVidia GeForce GT Series ทำให้ตอบสนองได้คุณภาพของ 3D ที่สวยงาม และความเต็มตาในการแสดงผลด้วยจอภาพขนาดใหญ่ อีกทั้งยังพ่วงลำโพง JBL Dolby ที่ให้คุณภาพเสียงที่ดีอีกด้วย

ประทับใจ

  • คีย์บอร์ดพิมพ์ได้ดี Numpad สามารถใช้งานได้ด้านบัญชีหรือผู้ใช้ที่ต้องการใช้งาน Numpad แบบจริงจังได้ดี ส่วนของสัมผัสในการพิมพ์แตกต่างจาก ThinkPad บ้าง แต่ก็แน่นและพิมพ์ไม่ยวบจนน่ารำคาญในการใช้งาน
  • USB 3.0 ให้มา 2 port ให้มาไม่กั้กเลย
  • วัสดุฝาหลังและเสื้อพสาสติกบริเวณที่วางมือทำได้น่าประทับใจมาก ดูดีมีราคาใช่เล่น ไม่ลูกกวาดเกินไป
  • จอภาพใหญ่เต็มตามาก
  • CPU/GPU แรงและเร็ว ให้มาเต็มที่เลย
  • สำหรับระบบระบายความร้อนนั้นออกแบบมาดี รองรับความร้อนมหาศาลของสองตัวผู้เผาพลังงานอย่าง CPU/GPU ได้สบาย
  • การถอดเปลี่ยน RAM/HDD ทำได้ง่ายไม่ต้องอาศัยคู่มือ

ไม่ประทับใจ

  • Resolution 1366x768 pixelของจอภาพให้มาน้อยไปเมื่อเทียบกับขนาดจอที่ 15.6”
  • น้ำหนักตัวเครื่องหนักใช้ได้เลย ถ้าสัก 2.5kg ลดมาสัก 2 ขีดกำลังสวยเลย
  • USB 2.0 น่าจะใส่เพิ่มมาอีกสัก 1-2 port พื้นที่เครื่องเหลือเยอะ เพราะกว้างมากขนาดใส่คีย์บอร์ดพร้อม Numpad ได้ส่วนนี้น่าจะไม่ยากนัก
  • พื้นที่เหลือเยอะใช้ได้จริงๆ คิดว่าน่าจะมีพื้นที่ใส่ HDD ตัวที่สองได้ในตัวมาเลยก็น่าจะดี

สำหรับตลาดฝั่ง Lenovo IdeaPad นั้นแตกต่างจาก Lenovo ThinkPad อย่างชัดเจน เพราะเน้นตลาดคนใช้งานทั่วไปที่ไม่ได้นำเครื่องเดินทางไปไหนมาไหนบ่อยมากนัก โดยเน้นใช้งานภายในบ้าน ไป-มา ตามสถานศึกษา เหมาะสมกับกลุ่มคนที่ชีวิตใช้งานคอมพิวเตอร์เพียงพอความบันเทิงและทำงานบ้างเป็นครั้งคราวมากกว่า

จุดที่แตกต่างจาก ThinkPad หลักๆ จะคล้ายๆ กับ ThinkPad Edge Series บ้าง แต่ไม่ทั้งหมดครับได้แก่

  • รูระบายน้ำด้านล่างคีย์บอร์ดที่ไม่มี
  • ไม่มีไฟส่องคีย์บอร์ด
  • ไม่มีโครงเครื่องสุดแกร่งด้วยแมกนีเซียม Roll Cage แบบใน ThinkPad
  • บานพับไม่ใช่แบบเหล็กกล้าแบบ ThinkPad
  • ไม่ใช่ Ultrabay ทำให้ Optical Drive สลับใส่ HDD อีกลูกไม่ได้
  • มี WWAN ในบางรุ่นเท่านั้น
  • IdeaPad นั้นมีลำโพงที่ดีกว่าเพื่อความบันเทิงโดยเฉพาะ
  • คีย์บอร์ด Layout 6 rows
  • จอภาพแบบ Glossy
  • การปิดจอภาพใช้แม่เหล็กแทน
  • มีให้เลือกหลากสีสันมากมาย
  • ไม่มี port สำหรับเชื่อมต่อ Docking

Tech Spec - System

  • CPU : Intel Core i7-2630QM (2.0 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 2.90 GHz)
  • Chipset : Mobile Intel HM65 Express Chipset
  • VGA : nVidia GeForce GT 555M (1GB GDDR5)
  • Display : 15.6" WXGA LED (1366x768)
  • Memory : 1 x 4GB DDR3 1,333Mhz
  • HDD : 750GB 5400rpm
  • Optical Drive : SuperMulti DVD Writer
  • Web Cam : 2.0Mpx

External Port

  • USB 2.0 : 1 port
  • USB 3.0 : 2 ports
  • D-Sub/VGA : 1 port
  • e-SATA - 1 port
  • HDMI : 1 port
  • Card reader : 6 in 1
  • Express Slot :  free 1 slot

Wireless Connection

  • Bluetooth
  • Wireless LAN Network Intel Centrino Wireless-N 1000
  • Ethernet 1 port

Input

  • Keyboard with Numpad
  • Multitouch TouchPad with Slidebar Navigation

Battery 6-Cell Li-ion

Speaker 2.0 JBL Dolby Home Theatre SRS

Warranty : 1 year

Weight : 2.7kg

Lenovo Technology : Veriface (Face Recognition Technology) and One Key Rescue System

ขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo IdeaPad Y570 ที่ให้นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

IdeaPad, Lenovo, Notebook, Review

สัมผัสแรก Lenovo ThinkPad Tablet และ Lenovo IdeaPad Tablet K1

$
0
0

สัมผัสแรก Lenovo ThinkPad Tablet และ Lenovo IdeaPad Tablet K1 และรายงานการเปิดตัวแคมเปญ Lenovo - For Those Who Do

ผมได้อีเมลเชิญเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว tablet พร้อมเปิดตัวแคมเปญ Lenovo - For Those Who Do อย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมาในรอบ blogger ที่โรงแรม Four Points by Sheraton สุขุมวิท 15

แน่นอนว่างานนี้เป็นครั้งแรก Lenovo จัดช่วง blogger ครับ บางครั้งอาจจะไม่ได้เชิญทั่วไป ส่วนตัวแล้วเชิญชวนกันผ่าน Twitter และในบอร์ด ThaiThinkPad เป็นหลัก เนื่องด้วยว่าต้องการกลุ่มที่สนใจเป็นหลัก แน่นอนว่ารอบ press คงไม่ใช่ปัญหาเพราะมีในช่วงเที่ยงไปแล้ว อันนั้นคงปรกติครับ

ซึ่งผมยังคงตอบเช่นเดิมทุกๆ ครั้งว่า "สเปคเครื่องต่างๆ คงหาได้ไม่ยากนัก สิ่งที่ยากกว่าคือการได้สัมผัสตัวเป็นๆ และได้ทดลองใช้งานจริงกับตัวเครื่องจริงๆ นั้นเอง" และเนื้อหาทั้งหมดพยายามเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุดครับ ขาดตกตรงไหนก็เพิ่มความคิดเห็นเสริมๆ เข้ามาได้ครับผม

งานนี้ Lenovo จัดเต็มกับ ThinkPad Tablet เป็นหลักเลยครับ ทุกคนในงานช่วง blogger ไปเล่นไปจับเจ้า ThinkPad Tablet มากกว่า IdeaPad Tablet K1 อาจจะเพราะแปลกใหม่และดูแตกต่างกว่าเจ้าตลาดในตอนนี้อยู่พอสมควรเลย

กล่าวก่อนว่า Lenovo นั้นแบ่งตลาดของ tablet ของตัวเองไว้ 2 กลุ่มชัดเจนเพื่อง่ายต่อการทำราคาและพัฒนาตัวสินค้าได้ง่ายและตรงกลุ่มเป้าหมายชัดเจนมากที่สุด คือ

รูปจาก Press Release ของ Lenovo

  • Lenovo IdeaPad Tablet K1ที่เจาะกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการความบันเทิงเป็นหลัก
  • Lenovo ThinkPad Tabletที่เจาะกลุ่มผู้ใช้งานภาคธุรกิจที่มาพร้อมระบบความปลอดภัย การควบคุมสำหรับองค์กร และเชื่อมต่อที่หลากหลาย

ผมไปถึงงานค่อนข้างสายเลยไม่ค่อยได้คุยกับใครเท่าไหร่ มาถึงรีบลงทะเบียนแล้วรีบประกอบกล้องถ่ายทันที ไม่งั้นไม่ได้งาน ไม่ได้เนื้อหาและภาพกลับมาแน่ๆ เพราะงานจะเริ่มแล้ว ผมเกรงใจคนจัดที่กลัวว่าคนมาไม่ครบแล้วทำให้คนมาทีหลังตามไม่ทัน

Lenovo ThinkPad Tablet

ไปถึงก็เห็น ThinkPad Tablet ตัวเป็นๆ วางอยู่เครื่องนึง และอีกเครื่องโดนฉกไปเล่นกันอยู่เหลือแต่ ThinkPad Tablet Dock ไว้ข้างๆ รอยนิ้วมือที่เครื่องเต็มเลย อย่าคิดมากครับ ไม่มีเวลามาตามทำความสะอาดแล้วงานนี้

ตัวที่ผมได้เห็นนั้นอยู่ใน ThinkPad Tablet Keyboard Folio case ที่ในเครื่องมาใส่ ThinkPad Tablet Pen มาพร้อมครับ ถือว่าเป็นชุดใหญ่มาก หลังงานแอบกระซิบมาว่าอยากขายแบบเซ็ตใหญ่เลย มาครบเซ็ตแบบไม่ต้องซื้อเพิ่มเลย แต่ราคาที่คาดหวังไว้คือประมาณไม่แพงไปกว่า ThinkPad X220 ตัว notebook ที่เป็นตัวสเปคล่างสุด ไม่งั้นจะเกิดอาการลังเลแน่

เครื่อง ThinkPad Tablet ที่อยู่ใน ThinkPad Tablet Keyboard Folio case นั้นดูจะหนาไปสักหน่อย อาจจะเพราะตัวเครื่องหนาอยู่แล้วเป็นทุนเดิม มันเลยทำให้พอมาประกบกับ case แล้วหนาไปอีก และหนักพอสมควรเลย ซึ่งเอาง่ายๆ ว่าพอๆ กับ netbook ตัวเล็กๆ ตัวนึงเลย

สำหรับ UI นั้นตอนแรกเห็นในเว็บผมยังงงๆ ว่าจะพยายามทำ UI ให้คล้ายๆ Windows ทำไม แต่พอมาเห็นตอนใส่กับ Folio case แล้วใช้งาน ต้องบอกว่า เฮ้ย! นี่มันคือการทำให้เราใช้งานได้คล้ายๆ กับ Windows ที่ทำงานบนโน้ตบุ๊ก/เน็ตบุ๊กอยู่พอสมควร ซึ่งเจ้าตัว TrackPoint แดงๆ ตรงกลางคีย์บอร์ด นั้นไม่ใช่เป็นแบบในโน้ตบุ๊ก ThinkPad ที่โยกๆ นะครับ เป็น Touch Sensor คล้ายๆ บน BlackBerry ครับ ต้องลากๆ สัมผัสไป-มาเพื่อเลื่อนตัวเคอร์เซอร์ เหมือนเมาส์บนจอ (คิดถึงโน้ตบุ๊กแล้วมีเมาส์ แล้วเลื่อนเคอร์เซอร์ Mouse Pointer นั้นแหละครับ)

แรกๆ ก็งงๆ ทำมาทำไม เพราะใช้ๆ อยู่รำคาญอยู่พัก ลากลำบากมาก (ยังไม่ชิน) เลยไปทัชบนจอเลยง่ายกว่า!!! ฮา …. ผมคิดว่าคนไปในงานทำกันทุกคน แต่ถ้าทำงานพิมพ์เอกสารเยอะๆ คงเข้าใจว่าใส่มาทำไม เพราะมันไม่ต้องละมือออกจากแป้นคีย์บอร์ดครับ เอาไว้เลื่อนๆ ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ได้พวก copy/paste ที่ต้อง select อะไรแบบนั้น

สำหรับตัวความรู้สึกของคีย์บอร์ดนั้นได้ความรู้สึกแบบเดียวกับ ThinkPad Edge Series ครับ layout ของคีย์บอร์ดล้อมาจากโน้ตบุ๊กของ ThinkPad Edge ทุกอย่างเลย เพราะฉะนั้น การปรับเปลี่ยนการพิมพ์คงไม่มีปัญหาแต่อย่างใดครับ แต่ปุ่มจะเล็กลงบ้างบางตัวในด้านข้างๆ ของคีย์บอร์ดครับ แตระยะระหว่างปุ่มทำได้ดีครับ ไม่เบียดจนพิมพ์และวางนิ้วลำบาก

ในส่วน ThinkPad Pen นั้น ใส่แบตแบบ AAAA (4A) อาจจะหายากหน่อย แต่คิดว่าน่าจะเริ่มมีขายกันบ้างแล้ว เพราะมีสินค้าหลายรุ่นหลายยี่ห้อ เริ่มใช้แบตขนาดเท่านี้กันมากขึ้นครับ

สำหรับตัวปากกา ThinkPad Pen ให้ความรู้สึกในการเขียนดีมาก แต่ด้วยจอของตัว Tablet มันลื่นไปหน่อย ทำให้การเขียนหวัดยิ่งกว่าเดิม (ปรกติก็แย่อยู่แล้ว) อาจจะต้องฝึกกันสักหน่อยในส่วนนี้ครับ

ตัวปากกา ThinkPad Pen มีน้ำหนักอยู่พอสมควร ทำให้การเขียนดูไม่พริ้วเกินไป แต่ตัวปากกาเอาไปลองกับ IdeaPad K1 แล้วใช้งานไม่ได้นะครับ เพราะตัวจอของ IdeaPad K1 นั้นไม่มีเซ็นเซอร์สำหรับใช้งานร่วมกับปากกาแบบ digitizer นี้

digitizer pen รุ่นใหม่ๆ นั้นมีคุณสมบัติรับทราบน้ำหนักมากหรือน้อยของการกดที่มีผลต่อขนาดของเส้น-สายของการเขียนได้ (pressure sensitive) ทำให้ใช้ในการวาดรูปหรือออกคำสั่งได้หลากหลายตามแรงของการกดที่ตัวปากกาได้ดีมากขึ้น

ตัวเนื้อวัสดุนั้นเป็นพลาสติก ABS คล้ายกับตัวเครื่องโน้ตบุ๊ก ThinkPad ด้านหลังฉาบด้วย Soft-Touch แบบเดียวกับฝาหลังเครื่องโน้ตบุ๊ก ThinkPad รุ่นใหม่ๆ เลย ทำให้จับถนัดกระชับไม่ลื่น

สำหรับจอภาพนั้นถือเป็นจุดขายตัวนึงของ ThinkPad Tablet เลย เพราะเป็นจอภาพขนาด 10.1 นิ้ว WXGA (1280x800) 16:10 แบบ IPS Panel 178/178 degrees Viewing Angle และมาพร้อมกับ Corning Gorilla Glass ป้องกันรอยขีดข่วน และรองรับ ThinkPad Tablet Pen Input ครับ

ตัวเครื่องที่นำมาโชว์และให้เล่นในงานเป็นรุ่น Lenovo ThinkPad Tablet Wi-Fi + 3G ขนาดความจุ 32GB ที่ยังไม่มีเปิดตัวขายในอเมริกาแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น ได้จับตัวเป็นๆ ก่อนใครและได้ทดสอบเล่น 3G จริงๆ ถือว่าเป็นโอกาสดีครับ

ด้านซ้ายของตัวเครื่องมีช่องเลื่อนออกมาด้านในเป็น full size USB 2.0 และ micro-USB port อย่างละ 1 port จากการทดสอบต่อ flash drive ทั่วไปผ่านช่อง full size USB 2.0 สามารถมองเห็นและเข้าถึงได้ และได้ทดสอบเอาไฟล์วิดีโอเปิดผ่าน ThinkPad Tablet แล้วสามารถเล่นวิดีโอได้ทันที แต่ยังไม่ได้ทดสอบกับ External HDD แต่อย่างใดครับ ซึ่งไอ้เจ้าช่องนี้เอาไปไว้ต่อกับ ThinkPad Tablet Keyboard Folio case ด้วย

ด้านบนเป็นปุ่มเพิ่มลดเสียง ช่องคล้องสายไว้ผูกกับ ThinkPad Pen กันหล่นหายได้ และช่องเสียบ ThinkPad Pen ไว้กับตัวเครื่อง

ช่องเชื่อมต่อด้านล่างให้มาครบสำหรับคนที่ต้องการจัดหนักซึ่งก็มี

  • 3.5 mm Audio/Mic combo jack
  • mini-HDMI output 1920x1080 (1080p) resolution Full HD display
  • micro-USB ports
  • Port สำหรับต่อ ThinkPad Tablet Dock
  • Fullsize SIM Card slot สำหรับใส่ SIM เพื่อใช้งาน Internet แบบ 3G ได้ทันที
  • Fullsize SD card reader (MMC, SD, SDHC)

สำหรับเจ้า ThinkPad Tablet Dock นั้นดูน่าใช้ดีครับ มีช่องต่อ USB 2.0 เพิ่มมาให้ด้านขวาให้อีก 1 ช่องเอาไว้ต่อกับคีย์บอร์ดทั่วไปได้

สำหรับเจ้า ThinkPad Tablet Dock นั้นสามารถต่อ micro-USB, ช่องเสียบ audio/mic แบบแยก (ไม่ใช่ combo) และที่เสียบสายชาร์จซึ่งใช้ของโน้ตบุ๊ก ThinkPad ได้ทันที (รุ่นใหม่ๆ ที่เป็น 65w หรือ 90w) โดยไม่ต้องซื้อสายเพิ่มเติม (หรือเผื่อไว้สำหรับไม่ได้เอาสายชาร์จมา ก็เอาไอ้นี่แหละต่อได้)

คุณสมบัติส่วนอื่นๆ ก็

  • OS : Android 3.1 (Honeycomb )
  • CPU : NVIDIA Tegra 2 250 T20 Dual-Core 1GHz processor
  • RAM : 1 GB
  • Bluetooth 2.0
  • Wireless LAN (abgn)
  • Main Camera : 5Mpx (AF)
  • Secondary Camera : 2Mpx
  • Built-in GPS/AGPS module, Ambient light sensor, Accelerometer และ Gyroscope
  • Battery Capacity: 3250 mAh (upto 1,000 Cycle)
  • Dimension : 260.4 x 169 x 14.5 millimetres
  • Weight : 0.75kg

Lenovo IdeaPad Tablet K1

ต่อมาเป็นตัวที่ในงานคนจับเยอะครับ แต่ทุกคนส่วนใหญ่จะจับๆ เล่นเกมเป็นหลัก เพราะเป็นตัวที่ Lenovo ทำออกมาแข่งกับตลาดคนใช้ทั่วไปที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอะไรพิเศษในด้านการใช้งานของธุรกิจมากเท่า ThinkPad Tablet

สำหรับตัววัสดุนั้นเป็นพลาสติก ABS คล้ายๆ กับ Notebook IdeaPad และขอบตัวเครื่องเป็น aluminum ครับ เน้นความเงางามเป็นหลักเลย ออกแนววัยรุ่นครับ

โดยที่เป็นจอภาพขนาด 10.1 นิ้ว WXGA (1280x800) 16:10 แบบ 10-point multi-touch แต่ไม่รองรับ ThinkPad Tablet Pen Input

สำหรับตัวคีย์บอร์ดนั้นน่าเสียดายที่ผมหาไม่เจอ ไม่รู้ใครไปซ่อนไว้ไหน ไม่ได้ลองตัวคีย์บอร์ดของตัวนี้เลย โดยส่วนตัวแล้วงานประกอบนั้นไม่แน่นเท่า ThinkPad ครับ มีการยวบๆ บ้างเล็กน้อย น่าจะเพราะต้องการให้มีความโค้งมนของตัวเครื่องและพื้นที่ภายในสำหรับใส่อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งแล้วแต่คนชอบครับ แต่งานประกอบก็ดีกว่าหลายๆ ยี่ห้อที่ทำออกมาก่อนหน้านี้หลายตัวครับ

ย้ำอีกครั้งครับ ใช้ ThinkPad Pen กับจอ IdeaPad Tablet K1 ไม่ได้ครับผม

ช่องต่อต่างๆ นั้นมี

  • 3.5 mm Audio/Mic combo jack
  • mini-HDMI output 1920x1080 (1080p) resolution Full HD display
  • MicroSD card reader
  • micro-USB ports
  • Port สำหรับต่อ Keyboard Dock KD101
  • Full size SIM Card slot สำหรับใส่ SIM เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบ 3G ได้ทันที (สำหรับรุ่นที่มี 3G)

คุณสมบัติส่วนอื่นๆ ก็

  • OS : Android 3.1 (Honeycomb )
  • CPU : NVIDIA Tegra 2 250 T20 Dual-Core 1GHz processor
  • RAM : 1 GB
  • 10-point multi-touch
  • Bluetooth 2.0
  • Wireless LAN (abgn)
  • Built-in GPS/AGPS module, Ambient light sensor, Accelerometer และ Gyroscope
  • Main Camera : 5Mpx (AF)
  • Secondary Camera : 2Mpx
  • Built-in accelerometer
  • Battery Capacity: 3250 mAh (upto 1,000 Cycle)
  • ขนาดเครื่อง : 261 x 187 x 12.7 millimetres
  • น้ำหนัก 0.77kg

ภายในงานก็มีการแสดงเล็กๆ น้อยๆ ให้ดูฮือฮาครับ ผมมองว่าเป็นสีสัน เพราะเนื้อหาสาระอยู่ครบเช่นเดิม

หลังจากนั้นทุกคนอิ่ม ก็ได้เวลาเริ่มงาน คุณจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลอโนโว ประเทศไทย ได้กล่าวเปิดงานวันนี้และต่อด้วยคุณวรเทพ จักรวาลวิบูลย์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท เลอโนโว ประเทศไทย ขึ้นมานำเสนอคุณสมบัติของ tablet ทั้งสองรุ่นนี้ โดยใช้กรณีศึกษาต่างๆ ที่ทำจากหลายๆ ที่ผมนำเสนอและสนันสนุนแนวทางในการทำตลาดของทั้งสองส่วนของ Lenovo เช่น

  • การใช้งานทั่วไปของ Tablet นั้น 3 อันดับแรกคือ internet/social network, E-mail และ game
  • ในตลาดของผู้ใช้ทั่วไปนั้น Apps ที่คนโหลดมากสุดเป็นหมวด game และ internet แต่ในภาคธุรกิจจะใช้งานด้าน office และ E-mail มากที่สุด
  • ในตลาดธุรกิจ กลุ่มคนที่จะใช้งาน tablet เยอะๆ จะเป็นกลุ่มคน field service และ sales หรือกลุ่มที่ทำงานนอกออฟฟิศเสียเป็นส่วนใหญ่
  • Lenovo ออกแบบ home screen ใหม่โดยอาศัยการสำรวจจากกิจกรรมที่คุณทำบ่อย ก็จะมีไอคอนที่ใช้บ่อย และยังสามารถปรับแต่งได้
  • Lenovo Social Touch รวมเอา E-mail และ social netowork ต่างๆ มารวมไว้ใน App เดียวกัน
  • ใช้ Flash 10.2 ได้ รองรับ HD playback ได้ทันที
  • Lenovo App Store ของ Lenovo Tablet Series ตอนนี้มีระบบเสียเงินสำหรับคนไทยแล้วหน่วยค่าเงินเป็น THB แล้วเช่นกัน โดยที่ Lenovo App Store นั้นจะคัด Apps จาก Android Market กว่า 350,000 ตัวมาใส่ไว้ เพื่อรับรองว่าจะใช้งานกับ Lenovo Tablet ได้อย่างดี โดยใช้ Google Account ในการซื้อเหมือนใน Android Market ปรกติ
  • Apps กว่า 30 รายการที่มาพร้อมกัน Lenovo Tablet เป็นแบบ Full version HD
  • Apps Letools ใช้ Sync ข้อมูลระหว่าง tablet กับ desktop ได้ง่ายมากขึ้น
  • ThinkPad Tablet รองรับ Active Directory ได้ทันที เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่
  • ThinkPad Tablet มีระบบ Centralize Management control สามารถสั่ง remote block/wipe/tracking ได้จากระยะไกล โดยสามารถ block ความสามารถต่างๆ เป็นรายเครื่องได้เช่นการไม่ให้ใช้ เปิด-ปิด กล้อง/USB pot/ลำโพง/ไมค์, ไม่ให้ลง apps เพิ่ม หรือการ deploy apps จากระยะไกลได้
  • สามารถสั่งแบบ ThinkPad Tablet แบบ customize preloaded ได้ตามที่องค์กรธุรกิจต้องการ แบบเปิดกล่องแล้วใช้งานในองค์กรของตนเองได้ทันที (ต้องสั่งทีละเยอะๆ)
  • ทาง Lenovo ให้ความเห็นว่า tablet ไม่ได้มาแทนอะไร แต่มาช่วยเสริมการทำงานให้สามรถทำงานได้อย่างต่อเนืองได้มากและสะดวกขึ้น
  • ตัว ThinkPad Tablet สามารถซื้อประกันเพิ่มเติมเป็น 3 ปีแบบ ThinkPlus และ ThinkPlus Protection ได้ด้วย (ประกันอุบัติเหตุ 3 ปี)

ในรอบของการ Q/A นั้นมีการถกประเด็นกันเยอะมาก เช่น

  • แผนการขายและราคาที่ทำออกมารวมถึงโปรโมชันกับค่ายมือถือ รวมไปถึงค่ายสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่จะจัดทำ digital content
  • สำหรับราคานั้น Lenovo จะพยายามตั้งราคาให้ถูกที่สุดโดยจะให้ ThinkPad Pen มาเป็น default ของการขายเลย โดยไม่ต้องซื้อเพิ่มแบบเมืองนอก และนำเข้า ThinkPad Tablet เฉพาะรุ่น WiFi+3G เท่านั้น โดยเป็นรุ่น 32GB และ 64GB เพราะ 16GB นำเข้ามาคงไม่มีใครซื้อ เพราะดูได้จากยี่ห้ออื่นๆ ที่คนซื้อ 32GB เสียเป็นส่วนใหญ่
  • สำหรับชุด package นั้นทาง Lenovo กำลังพิจารณาวางขายแบบ full option คือมี ThinkPad Tablet + ThinkPad Pen + ThinkPad Tablet Keyboard Folio case หรือ ThinkPad Tablet Dock พร้อมโปรร่วมกับค่ายมือถืออื่นๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานของคนทำงานธุรกิจและองค์กรให้ได้มากที่สุด
  • สำหรับ IdeaPad K1 นั้นจะขายในลักษณะตัวเครื่องแยกกับ Keyboard Dock KD101 และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เพื่อทำราคาให้ต่ำสำหรับสู้กับค่ายอื่นๆ
  • สำหรับอุปกรณ์เสริมอื่นๆ Lenovo จะนำเข้ามาขายตาม Shop ต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้สะดวกต่อการซื้อหา
  • สำหรับการสนับสนุนทางด้าน OS และ Apps รุ่นใหม่ๆ นั้นทาง Lenovo ได้ให้ความเห็นว่า บริษัทมีประสบการณ์ร่วมกับพาร์ทเนอร์อื่นๆ ที่พัฒนา OS และซอฟต์แวร์บนเดสก์ท็อปมายาวนานจึงคิดว่าบนตลาด Tablet ที่เป็นตลาดใหม่นั้นจะได้รับประสบการณ์เดียวกัน

Lenovo Tablet ทั้ง 2 Series จะมีจำหน่ายแล้วที่ตัวแทนจำหน่ายของ Lenovo ตามราคาและเวลาดังนี้

Lenovo IdeaPad Tablet K1 WiFi ความจุ 32 GB

- ราคา 16,990 บาท วางจำหน่ายไปแล้วเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2554

Lenovo IdeaPad Tablet K1 WiFi + 3G ความจุ 32 GB

- ราคา ยังไม่ระบุ จะวางจำหน่ายประมาณสิ้นเดือนตุลาคม 2554

Lenovo ThinkPad Tablet WiFi + 3G ความจุ 32GB และ 64GB - ราคา ยังไม่ระบุ จะวางจำหน่ายประมาณช่วงหลังของเดือนกันยายน 2554

โดยผลิตภัณฑ์จะมาพร้อมการรับประกัน 1 ปี ซึ่งสามารถอัพเกรดระยะเวลาการรับประกันและความคุ้มครองของประกันได้

ปิดท้าย !!!! รายชื่อ Apps ที่ Preloaded

ThinkPad Tablet

  • Documents To Go
  • MyScript Notes Mobile
  • USB Data Transfer Utility
  • Lenovo Launch Zone
  • Lenovo SocialTouch
  • Favorite Apps
  • User Data and SD Card Encryption
  • WiFi Import or Export

and All Preloaded from IdeaPad Tablet K1

IdeaPad Tablet K1

  • Google Mobile Services for Android 3.1
  • Flash 10.2
  • ArcSoft PowerMobia ArcSync
  • Lenovo App Shop
  • Lenovo Social Touch
  • Lenovo Media Gallery
  • Lenovo Video Player
  • Lenovo Music Player
  • Lenovo eBook Reader
  • Lenovo Letools
  • Lenovo Cloud
  • mSpot Music
  • Complete HD codes formats (except for MKV&MPEG-2 & RMVB)
  • PlayReady DRM
  • Oovoo
  • Poketalk
  • eBuddy
  • Connectify
  • Facebook
  • Twitter
  • Norton Mobile Security
  • AccuWeather
  • Dataviz: Documents to Go
  • Printershare
  • Zinio
  • E-Mag
  • Amazon Kindle E-Book reader
  • Luck Launcher Games: Galaxy on Fire2
  • Need for Speed: Shift
  • Angry Birds
  • Vendetta Online
  • Murtha
  • Drawing Pad
  • Talking Tom
  • Silver Creek: Solitaire
  • Silver Creek: Hearts
  • Silver Creek: Spades
  • Silver Creek: Euchre
  • Silver Creek: Backgammon
  • Warships
  • Treasure Arm
  • Flash Game Arcade

คุณจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลอโนโว ประเทศไทย (ลำดับที่สองจากขวามือ)

ขอบคุณ Lenovo Thailand ที่เชิญเหล่า blogger ในครั้งนี้ครับ

IdeaPad, Lenovo, Preview, Tablet, ThinkPad

IdeaPad K1 ในสหรัฐฯ ลดราคาเหลือ 329 ดอลลาร์แล้ว

$
0
0

ภาวะลูกโซ่ของการลดราคาแท็บเล็ตยังคงต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ หลังการเปิดตัว Kindle Fire ตอนนี้มาถึง Lenovo IdeaPad K1 ที่ลดราคาเหลือ 329 ดอลลาร์ในสหรัฐฯ จากเดิม 499 ดอลลาร์

นับจากการเปิดตัว Kindle Fire ตอนนี้มีแท็บเล็ตลดราคาอย่างหนักแล้วได้แก่ HTC Flyer, BlackBerry PlayBookส่วน Nook Color นั้นลดราคาลงเพียงเล็กน้อย

งานนี้ผมมองว่าตลาดแท็บเล็ตแอนดรอยด์กำลังปรับราคาทั้งแผงเพื่อให้มาอยู่ในช่วงราคาที่แข่งขันกับ iPad ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ โดยมี Kindle Fire เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ผลิตรู้ว่าถ้าราคามันเหมาะสมก็สามารถขายได้เป็นล้านเครื่องในช่วงเวลาสั้นๆ

คำแนะนำสำหรับการลงทุนคือรอปรับฐานแล้วช้อนซื้อครับ

ที่มา - C|Net

[CES 2012] Lenovo IdeaPad U310/U410 - ภาคต่อของ Ultrabook IdeaPad

$
0
0

ยังอยู่กับงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ Lenovo ในงาน CES 2012 นะครับ นอกจากโน้ตบุ๊ก ThinkPad, แท็บเล็ต IdeaTab, สมาร์ททีวี K91ที่เหลือก็เป็นโน้ตบุ๊กและพีซีอีกชุดใหญ่

ข่าวนี้จะพูดถึงโน้ตบุ๊กรุ่นเดียวคือ IdeaPad U310/U410 ซึ่งเป็น ultrabook รุ่นที่สองใต้แบรนด์ IdeaPad (ต่อจากรุ่นแรก IdeaPad U300s)

สเปกมาตรฐานคือซีพียู Intel Core ไม่ระบุรุ่น, แรม 4GB, ความละเอียดหน้าจอ 1366x768, ฮาร์ดดิสก์ 500GB หรือ SSD 64GB, Windows 7 Enhanced Experience, Intel Wireless Display (WiDi)

สองรุ่นนี้ต่างกันที่ขนาดของหน้าจอ และการ์ดจอ

  • U310 ใช้หน้าจอ 13"หนัก 1.7 กก. การ์ดจอ Intel GMA 3000 HD
  • U410 ใช้หน้าจอ 14"หนัก 1.9 กก. การ์ดจอ NVIDIA GeForce 610M 1GB

โดยรวมแล้วสเปกและหน้าตาคงไม่ต่างจาก U300s ตัวเดิมมาก แต่ที่เปลี่ยนไปเยอะคือ "ราคา"เพราะ U310 จะเริ่มต้นที่ 699 ดอลลาร์ (ประมาณ 22,000 บาท) เริ่มขายเดือนพฤษภาคม

ที่มา - Lenovo, The Verge, Engadget

[CES 2012] Lenovo เปิดตัวโน้ตบุ๊ก-พีซีตระกูล IdeaPad, IdeaCentre อีกชุดใหญ่

$
0
0

โพสต์สุดท้ายของงานแถลงข่าว Lenovo ที่งาน CES 2012 รวมข่าวผลิตภัณฑ์ที่เหลือทั้งหมด ผมลงคร่าวๆ พอ ใครสนใจตัวไหนก็ตามไปอ่านกันเองนะครับ

เราพูดถึงผลิตภัณฑ์ระดับ "เรือธง"กันไปหมดแล้ว ที่เหลือก็คือโน้ตบุ๊กและพีซีตั้งโต๊ะอีกสารพัดรุ่น ทั้งที่เป็นแบรนด์ IdeaPad, IdeaCentre และแบรนด์ Lenovo เฉยๆ ไม่มีแบรนด์ย่อยครับ

IdeaPad S200, S206

ตัวแรกนี้เป็น "เน็ตบุ๊ก"รุ่นใหม่ หน้าจอขนาด 11.6 นิ้ว, หนัก 1.3 กก., แรม 2GB, ฮาร์ดดิสก์ 500GB, แบตเตอรี่ 2 เซลล์ทำงานได้นาน 4 ชั่วโมง

รุ่น S200 ใช้ซีพียู Intel Atom "Cedar Trail"ตัวใหม่ N2800 ดูอัลคอร์ (มีรุ่นที่ใช้ SSD 32GB ให้เลือกด้วย) ส่วนรุ่น S206 เป็น AMD C60 ดูอัลคอร์

วางขายเดือนกรกฎาคม ราคาเริ่มต้น 349 ดอลลาร์ ภาพดูได้จาก Engadget

IdeaPad Y480, Y580

โน้ตบุ๊กเพื่อความบันเทิง มีรุ่นจอ 14” และ 15” ให้เลือก, ซีพียู Intel Core, การ์ดจอรุ่นสูงสุดใส่ได้ถึง NVIDIA GeForce GTX660M 2GB, ระบบเสียง Dolby Home Theatre V4, ลำโพง JBL

นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกเพิ่ม TV tuner และ Intel Wireless Display (WiDi) ได้ด้วย รุ่น Y580 เพิ่มคีย์บอร์ดเรืองแสงได้อีก

ขายเดือนเมษายน ราคาเริ่มต้น 899 ดอลลาร์

IdeaPad Z580, Z480, Z380

โน้ตบุ๊กสายมาตรฐาน เน้นสีสันตัวเครื่องที่สดใส 6 แบบ มีให้เลือก 3 ขนาดหน้าจอคือ 13.3", 14", 15.6"ความละเอียดหน้าจอ 1366x768 เท่ากันหมด, มีพอร์ต HDMI และ Intel Wireless Display (WiDi)

สเปกอื่นๆ เลือกใส่ได้สูงสุดคือ Core i7, ไดรฟ์ Blu-ray, แรม 8GB, ฮาร์ดดิสก์ 1TB

ขายเดือนเมษายน ราคาเริ่มต้น 599 ดอลลาร์

Lenovo G480, G580, G780

โน้ตบุ๊กรุ่นถูก มีให้เลือก 3 ขนาดหน้าจอคือ 14”, 15.6” 17.3” สเปกคล้ายๆ กันคือ Intel Core, แรมสูงสุด 8GB, ฮาร์ดดิสก์ 1TB, NVIDIA GeForce GT630M และ Blu-ray

ขายเดือนมิถุนายน ราคาเริ่มต้น 399 ดอลลาร์

IdeaCentre B540, B340

All-in-One (AIO) ตระกูล IdeaCentre แบ่งตามขนาดหน้าจอคือ B540 23"และ B340 21.5"ทั้งสองรุ่นเป็นทัชสกรีนความละเอียด Full HD, มีโหมดดูทีวี OneKey TV ที่ทำงานได้โดยไม่ต้องเปิดพีซี, เว็บแคม 720p, ไดร์ฟดีวีดีที่เลือกเปลี่ยนเป็น Blu-ray ได้, มีรุ่นหน้าจอ 3D ให้เลือก

รุ่น B540 ใส่การ์ดจอได้สูงสุด NVIDIA GeForce GT 650M 2GB

เริ่มขายเดือนมิถุนายน ราคาเริ่มต้น 699 ดอลลาร์

IdeaCentre K430

เดสก์ท็อปแบบ tower สำหรับคนที่เน้นความแรงไม่เน้นสไตล์ ซีพียู Intel Core แต่อัดแรมได้สูงสุด 32GB, การ์ดจอคู่เลือกได้ว่าจะเป็น NVIDIA SLI หรือ ATI CrossFireX, ฮาร์ดดิสก์คู่ต่อ RAID 0 (เลือกได้ว่าจะใช้ 4TB หรือ SSD 128GB)

ที่น่าสนใจคือ K430 ยังจะมีฮาร์ดดิสก์พกพาขนาด 500GB เชื่อมต่อผ่าน Universal Storage Module (USM) กับด้านหน้าของตัวเครื่อง อำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ย้ายข้อมูลขนาดใหญ่บ่อยๆ และที่น่าสนใจกว่าคือ "ปุ่ม Turbo"เอาไว้ปรับความแรงของเครื่องได้ 3 ระดับ (แรง, อัตโนมัติ, ประหยัดพลังงาน)

ขายเดือนพฤษภาคม ราคาเริ่มต้น 599 ดอลลาร์

Lenovo H520s

ตัวสุดท้ายเป็นเดสก์ท็อปขนาดเล็กสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน (ผมดูภาพแล้วน่าจะ mini tower) ใส่แรมได้ 8GB, ฮาร์ดดิสก์ 2TB, การ์ดจอ AMD Radeon HD7570 หรือ GeForce GTX630

เริ่มขายเดือนมิถุนายน ราคาเริ่มต้น 499 ดอลลาร์

ที่มา - Lenovo, Engadget (โน้ตบุ๊ก), Engadget (เดสก์ท็อป)

ภาพหลุดเครื่องทดลองในโครงการแท็บเล็ตนักเรียน ป.1

$
0
0

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คุณหนุ่ย "พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์" (@nuishow) ได้ทวิตภาพของแท็บเล็ตเครื่องทดลองที่แจกให้กับโรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มนำร่องในโครงการแท็บเล็ตของนักเรียน ป.1 ผ่านทาง @nuishowซึ่งเครื่องในภาพคือ Lenovo IdeaPad A1 แต่อย่างไรก็ตามเครื่องดังกล่าวเป็นเครื่องทดลองจึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าอนาคตนักเรียน ป.1 จะได้ใช้แท็บเล็ตยี่ห้อ Lenovo จริงๆ

"มาแล้วจ้าาาา~โฉมหน้า Tablet นักเรียน!!(ขอย้ำว่านี่คือเครื่องทดลองใช้กับกลุ่มนำร่อง) เซอร์ไพร์สไหม?แบรนด์ Lenovo"

สามารถดูภาพและข้อความจากทวิตได้ท้ายข่าวครับ

"ด้านหลัง Tablet นักเรียน(เครื่องทดลองใช้กับกลุ่มนำร่อง) มีกล้องด้วยนะเอ้อ~! ความละเอียด3ล้านpixel"

"(3)Tabletนักเรียน (เครื่องทดลองใช้กับกลุ่มนำร่อง) เป็น Android 2.3 เดี๋ยวภาพต่อไปเราไปดูสเปคกันครับ (มีพลิกโผ!!)"

"(4) Tabletนักเรียน (เครื่องทดลองใช้กับกลุ่มนำร่อง) มีสเปคดังต่อไปนี้ครับ...(ชมภาพ)"

"(5) Tabletนักเรียน (เครื่องทดลองใช้กับกลุ่มนำร่อง) กับความละเอียดหน้าจอและอื่นๆ...(ชมภาพ)"

"(6)Tabletนักเรียน (เครื่องทดลองใช้กับกลุ่มนำร่อง) รองรับ MultiTouch กดได้2จุดพร้อมกัน (นิ้ว @ripmilla หาใช้นิ้วผมไม่)"

"(7)Tabletนักเรียน (เครื่องทดลองใช้กับกลุ่มนำร่อง) Appที่"ติดตั้งมาทันที"กับเครื่อง"

"Tablet นักเรียน (เครื่องทดลองกับรร.นำร่อง) ที่เห็นเมื่อคืน เขาให้ Softcase ทุกเครื่อง แถมStylusให้ครูทุกคนด้วย!"

Lenovo เปิดตัวโน้ตบุ๊กใหม่ IdeaPad S300, S400, S405

$
0
0

ยังอยู่กับข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่จากงาน IFA นะครับ ในส่วนของ Lenovo นอกจากแท็บเล็ตแอนดรอยด์ยังมีโน้ตบุ๊กตระกูล IdeaPad อีก 3 รุ่นด้วย

IdeaPad ทั้งสามรุ่นใช้บอดี้เดียวกันหมด หน้าจอขนาด 14"ทุกตัวมาพร้อมกับ Windows 7 Home Premium และอัพเกรดเป็น Windows 8 ได้ในอนาคต ตัวทัชแพดออกแบบมาให้ทำงานกับ Windows 8 ได้ดี นอกจากนี้ยังมีระบบเสียง Dolby Advanced Audio v2 มาเป็นมาตรฐาน

  • S300 ใช้ซีพียู Intel Core i3, หน้าจอ 13.3"
  • S400 ใช้ Core i5, หน้าจอ 14", ใส่ SSD 32GB เพื่อเพิ่มความเร็วได้
  • S405 ใช้ AMD A8 ควอดคอร์, หน้าจอ 14", ใส่ SSD 32GB เพื่อเพิ่มความเร็วได้

เริ่มขายแล้ววันนี้ทั้งสามตัว ราคาเริ่มต้น 499 ดอลลาร์เป็นต้นไป

ที่มา - Lenovo Press

Lenovo เปิดตัวโน้ตบุ๊กใหม่รับ Windows 8 อีกชุดใหญ่

$
0
0

ที่งาน IFA 2012 นอกจาก Lenovo จะเปิดตัวอัลตร้าบุ๊กตระกูล IdeaPad S Seriesก็ยังมีโน้ตบุ๊กตระกูลอื่นๆ ของบริษัทที่อัพเกรดขึ้นจากรุ่นก่อนๆ ให้ทำงานร่วมกับ Windows 8 ได้เต็มที่

โน้ตบุ๊ก

  • IdeaPad U510 Ultrabook– อัลตร้าบุ๊กจอ 15"เป็นตัวต่อของ U310/410เมื่อต้นปีนี้ หนัก 2.2 กิโลกรัม ฮาร์ดดิสก์ 1TB+SSD มีไดรฟ์ DVD/Blu-ray ในตัว ราคาเริ่มต้น 679 ดอลลาร์ เริ่มขายเดือนกันยายน
  • IdeaPad Y400/Y500 - เน้นตลาดเกมและมัลติมีเดีย ใช้ Core i7 Ivy Bridge, GeForce GT655M 2GB, แรมสูงสุด 16GB, ฮาร์ดดิสก์สูงสุด 1TB, แยกเป็นจอ 14"และ 15.6" LED backlit ตามตัวเลขในชื่อรุ่น ราคาเริ่มต้น 649 ดอลลาร์ เริ่มขายเดือนตุลาคม
  • IdeaPad Z400/Z500 - เน้นความบางของตัวเครื่อง แต่ก็ยังคงสเปกแรง Core i7 + GeForce เอาไว้ แบ่งเป็นจอ 14 และ 15.6" LED backlit เช่นกัน ราคาเริ่มต้น 549 ดอลลาร์ Z500 เริ่มขายเดือนกันยายน, Z400 ขายเดือนพฤศจิกายน

    พีซีแบบออลอินวัน

  • IdeaCentre A520พีซีออลอินวันจอภาพ IPS LED ขนาด 23" 1080p รองรับมัลติทัช 10 จุด, ซีพียู Core i7, Intel HD 4000, แรมสูงสุด 8GB, ฮาร์ดดิสก์ 1TB, มีจุดเด่นที่ดีไซน์และความบาง ราคาเริ่มต้น 999 ดอลลาร์ เริ่มขายเดือนตุลาคม

  • IdeaCentre B340, B345, B545ออลอินวันราคาประหยัด หน้าจอ 21.5" (B34x) และ 23" (B545) ความละเอียด 1080p มัลติทัช 10 จุด, รองรับ 3D แถมแว่น, ซีพียู Core i7 หรือ AMD ควอดคอร์, การ์ดจอ GeForce 615 (B340) หรือ Radeon HD 7470A (Bx45) มีตัวเลือกใส่ภาครับทีวีได้ รุ่น B34x ราคาเริ่ม 599 ดอลลาร์ ขายเดือนตุลาคม, B545 ขายแล้วในราคา 699 ดอลลาร์

ภาพดูกันเองตามลิงก์ที่มานะครับ

ที่มา - Lenovo Press, VentureBeat, AllThingsD


เลอโนโวเปิดตัว ThinkPad Twist และ IdeaPad Yoga ในประเทศไทย

$
0
0

เมื่อวานนี้ เลอโนโวประเทศไทยจัดงานเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่ใช้ Windows 8 สองรุ่น ThinkPad Twist และ IdeaPad Yoga พร้อมแนะนำการใช้งานโน้ตบุ๊กในรูปแบบใหม่สำหรับสองรุ่นที่ว่า ส่วนสเปคของทั้งสองรุ่นดูกันได้จากข่าวเก่าเลยครับ

ทั้ง ThinkPad Twist และ IdeaPad Yoga มีจุดเด่นที่เหมือนกันคือสามารถบิดหน้าจอได้ แต่ต่างกันเล็กน้อยตรงที่ ThinkPad Twist ใช้วิธีการหมุนในแนวนอน ส่วน IdeaPad Yoga จะเป็นการพับไปด้านหลัง เพื่อใช้งานในรูปแบบที่ต่างๆ กันไปภายใต้คอนเซป "360 of DO"โดยสี่ท่าที่เลอโนโวแนะนำมีดังนี้

* Notebook mode - รูปแบบมาตรฐานสำหรับใช้งานทั่วไป
* Tablet mode - พับหน้าจอลงมาเพื่อใช้งานเป็นแท็บเล็ต
* Tent mode - ตั้งเป็นสามเหลี่ยม สำหรับเล่นเกม หรือใช้งานกล้องวิดีโอ
* Stand mode - พลิกคีย์บอร์ดไปอยู่ด้านหลังจอ เพื่อใช้ดูหนังได้ใกล้ยิ่งขึ้น

ในงานเปิดตัวมีเครื่องจริงให้ลองเล่นด้วยครับ เริ่มต้นกันที่ ThinkPad Twist ที่มาในรหัส S230u กันก่อนเลย

หน้าตาทั่วไปของ ThinkPad Twist ไม่ต่างกับโน้ตบุ๊กในซีรีส์ ThinkPad EDGE มากนัก วัสดุบนตัวเครื่องทำจากแมกนีเซียมอัลลอยด์เหมือนรุ่นพี่

ตัวหน้าจอสัมผัสสามารถบิดในแนวนอนได้ 360 องศา

การบิดมาด้านหลัง แล้วพับขึ้นลงแบบนี้ เลอโนโวเรียกว่า Stand mode ครับ

อีกรุ่นอย่าง IdeaPad Yoga หน้าตาเหมือนกับอัลตร้าบุ๊กของเลอโนโวอย่าง IdeaPad U300s ทุกประการ แต่เพิ่มฟีเจอร์อย่างจอสัมผัส และหมุนหน้าจอไปด้านหลังได้เข้ามา วัสดุตัวเครื่องเป็นอลูมิเนียม

ตั้งเครื่องแบบนี้ เลอโนโวเรียกว่า Tent mode ครับ

ราคาของทั้งสองรุ่นที่เปิดตัวมาในวันนี้ ThinkPad Twist เปิดราคาที่ 33,900 บาท และ IdeaPad Yoga รุ่นจอ 13"เปิดราคาที่ 42,900 บาท วางขายแล้ว

ส่วนอีกรุ่นที่เปิดราคามาก่อนอย่างเจ้า IdeaPad 11"อัลตร้าบุ๊กพับได้ที่ใช้ Windows RT (ซีพียูเป็น Tegra 3) ตั้งราคาไว้ที่ 31,900 บาท คาดว่าจะเริ่มขายช่วงเดือนธันวาคมนี้ครับ

นอกจากนี้ในงานยังมีโน้ตบุ๊กรุ่นอื่นที่เอามาโชว์รัน Windows 8 ให้เห็นกันด้วย หนึ่งในรุ่นที่ผู้อ่าน Blognone สนใจน่าจะเป็นเจ้ารุ่นนี้ ThinkPad T430u อัลตร้าบุ๊กรุ่นกลางในตระกูล ThinkPad

หน้าตาด้านหน้าของ T430u จะไม่คล้ายกับซีรีส์ T มากนัก แต่ค่อนไปทางซีรีส์อัลตร้าบุ๊กอย่าง X1 Carbon มากว่า

คีย์บอร์ดของ T430u ก็ปรับไปใช้เหมือนกับ X230 เรียบร้อยแล้ว

ฝาหลังของตัวเครื่อง

ความบางอยู่ที่เกือบๆ 20 มม. ครับ ตัวเครื่องหนักพอสมควรราวๆ 1.8 กิโลกรัม ราคาเปิดตัวอยู่ที่ 38,900 บาท (อันนี้ผมไปเชคมาเองนะ อาจมีคลาดเคลื่อนบ้างครับ)

BlueStacks เซ็นสัญญา Lenovo พรีโหลดโปรแกรมกับพีซีตระกูล Idea

$
0
0

BlueStacks เจ้าของโปรแกรมสภาพแวดล้อมเสมือนสำหรับแอพฝั่ง Android (แต่รันบนพีซี-แมค) เคยมีความร่วมมือกับ AMD, MSI และ ASUSไปก่อนแล้ว

พันธมิตรของ BlueStacks รายล่าสุดคือ Lenovo ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก (จากการจัดอันดับของบางสำนัก) โดยความร่วมมือมีลักษณะคล้ายๆ กันคือ โน้ตบุ๊กตระกูล IdeaPad และพีซีตระกูล IdeaCentre จะติดตั้งโปรแกรม BlueStacks มาจากโรงงาน เพื่อให้พีซีเหล่านี้สามารถรันแอพบน Android ได้ด้วย

เป้าหมายของ Lenovo ต้องการให้แอพบนสมาร์ทโฟนและพีซีของตัวเองใช้งานร่วมกันได้ ปัจจุบัน Lenovo เป็นผู้ขายสมาร์ทโฟนอันดับสองของจีน และมีสมาร์ทโฟน Android ทำตลาดจีนอยู่หลายรุ่น

ที่มา - VentureBeat, TechCrunch

BlueStacks, Android, Virtualization, IdeaPad, IdeaCentre

Lenovo เปิดตัว IdeaPad Z510 ที่อินเดีย

$
0
0

Lenovo เปิดตัวโน้ตบุ๊คที่จะมาแทน IdeaPad Z500 ยอดฮิต นามว่า IdeaPad Z510 ในตลาดอินเดีย โดยราคาอยู่ที่ 50,990 รูปี(รวมภาษี) หรือราว 25,000 บาท โดยมีสเปกดังนี้

  • ซีพียู Intel Core i7 สถาปัตยกรรม Haswell
  • หน้าจอ LED ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1920x1080
  • แรม 4 GB แบบ DDR3L อัพเกรดได้สูงสุด 16GB
  • การ์ดจอ Nvidia GeForce GT740M 2GB
  • ฮาร์ดดิสขนาด 1 TB
  • กล้องเว็บแคม 720p
  • Wi-Fi 802.11 b/g/n
  • Bluetooth v4.0
  • ลำโพง JBL ระบบสเตอริโอ และ Dolby Theatre v4.0
  • ระบบ Intel Wireless Display(WiDi)
  • ระบบ Onekey Recovery

วางขายที่อินเดียในช่วงกลางเดือนตุลาคม ส่วนจะเข้าไทยเมื่อไหร่ ตั้งราคาที่เท่าไหร่ต้องคอยติดตามต่อไป

IdeaPad Z510

ที่มา - INTERNATIONAL BUSINESS TIMES

IdeaPad, Lenovo, Notebook

หลุด แท็บเล็ต IdeaPad จาก Lenovo มีขาตั้งที่สามารถยกตัวเครื่องขึ้นตั้งได้เอง

$
0
0

มีภาพและสเปคของแท็บเล็ต Lenovo ตระกูล IdeaPad รุ่นใหม่ คือ B6000-F และ B8000-F โผล่บนเว็บไซต์ร้านขายของในเยอรมนี ทั้งสองมีขาตั้งที่สามารถยกตัวเครื่องขึ้นตั้งได้เอง (ดูภาพที่ท้ายข่าว)

สำหรับสเปคนั้น B6000-F มีหน้าจอ 8 นิ้วที่ 1280x800 พิกเซล, ซีพียูควอดคอร์จาก MediaTek รุ่น MT8125 ที่ 1.2 กิกะเฮิรตซ์, แรม 1 กิกะไบต์, หน่วยความจำภายใน 16 กิกะไบต์, กล้องหลัง 5 ล้านพิกเซล (ไม่ได้ระบุข้อมูลกล้องหน้า), แบตเตอรี่ 6,000 มิลลิแอมป์-ชั่วโมง และรัน Android 4.2 (Jelly Bean) ส่วน B8000-F มีหน้าจอ 10 นิ้วที่ 1280x800 พิกเซล นอกนั้นมีสเปคเหมือนกับ B6000-F ยกเว้นแบตเตอรี่เป็น 9,000 มิลลิแอมป์-ชั่วโมง

สนนราคา B6000-F ที่ 215 ยูโร (ราว 9,100 บาท) และ B8000-F ที่ 280 ยูโร (ราว 11,900 บาท)

ไม่รู้เหมือนกันว่า Yoga Tabletที่มีข่าวไปก่อนหน้านี้จะมีการยกตัวแบบเดียวกับ IdeaPad ในข่าวนี้หรือไม่

ที่มา: Sixpolและ Top Elektronikweltผ่าน MobileGeeks (แปลเป็นภาษาอังกฤษ)ผ่าน Engadget

B6000-F ด้านหลัง

แสดงการยกตัว B6000-F

B6000-F

หมายเหตุ: หน้าตารุ่น B8000-F คล้ายกับรุ่น B6000-F เลยขอไม่แสดงรูปในข่าวนี้ ภาพทั้งหมดดูได้จากเว็บไซต์ MobileGeeks ตามที่มาของข่าว

Lenovo, Android, IdeaPad, Leak, Tablet

เลอโนโวเผยภาพ IdeaPad Yoga ล่าสุด พร้อมบอก "ไม่นานเกินรอ"

$
0
0

เลอโนโวได้ทวีตพร้อมภาพล่าสุดของ IdeaPad Yoga โน้ตบุ๊กลูกผสมที่สามารถพับหน้าจอเพื่อใช้งานเป็นแท็บเล็ตได้ โดยกล่าวเพียงว่า "It won't be long now. #Yoga #GameChanger."

เมื่อเปรียบเทียบภาพที่เลอโนโวเปิดเผยล่าสุดกับภาพเมื่อตอนงาน CES ปีนี้ พบว่าดูเหมือนมีแต่โลโก้ Windows ของปุ่ม Start เท่านั้นที่ได้รับการปรับเปลี่ยน

ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวของ WSJ ได้พูดถึงอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่เป็นโน้ตบุ๊กซึ่งสามารถพับหน้าจอเพื่อใช้งานเป็นแท็บเล็ตได้ เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดแล้วอุปกรณ์ชิ้นนี้น่าจะเป็นต้นแบบ IdeaPad Yoga นั่นเอง

ที่มา: @lenovo

Lenovo, Tablet, Windows 8, IdeaPad, Yoga

Lenovo เปิดตัวโน้ตบุ๊ก-แท็บเล็ตลูกผสม 4 รุ่น

$
0
0

นอกจาก ThinkPad Tablet 2 ราคาเริ่มต้น 649 ดอลลาร์แล้ว วันนี้ Lenovo ได้เปิดตัวโน้ตบุ๊กลูกผสมที่สามารถพับหน้าจอไปด้านหลังเพื่อใช้งานแบบแท็บเล็ตได้ IdeaPad Yoga 11 และ IdeaPad Yoga 13, โน้ตบุ๊กลูกผสมที่สามารถหมุนหน้าจอเพื่อใช้งานแบบแท็บเล็ตได้ ThinkPad Twist, และแท็บเล็ตแยกร่าง-ประกอบร่างกับคีย์บอร์ดได้ Lynx รายละเอียดเป็นดังนี้

IdeaPad Yoga 11

IdeaPad Yoga รัน Windows RT นี้ก็เป็นไปตามข่าวลือก่อนหน้านี้ สเปคเป็นดังนี้

  • หน้าจอ 11.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1366x768 พิกเซล รองรับการสัมผัสสูงสุด 5 จุด
  • ซีพียู NVIDIA Tegra 3
  • แรม 2 กิกะไบต์ แบบ DDR3
  • SSD ความจุ 32/64 กิกะไบต์
  • แบตเตอรี่อยู่ได้นาน 13 ชั่วโมง
  • ตัวเครื่องหนา 15.6 มิลลิเมตร น้ำหนักรวม 1.27 กิโลกรัม

Neowin กล่าวว่าอย่างน้อยที่สุดน่าจะมีสีส้มและสีเงินให้เลือก ส่วน The Verge ระบุว่า Lenovo จะวางขาย IdeaPad Yoga 11 เดือนธันวาคมนี้ที่ 799 ดอลลาร์ (ราว 24,600 บาท)

ที่มา: Neowin, The Verge

IdeaPad Yoga 13

IdeaPad Yoga รัน Windows 8 ตัวเต็มนี้เป็นข่าวมาตั้งแต่งาน CESเมื่อต้นปีนี้ สเปคฉบับเต็มเป็นดังนี้

  • หน้าจอ 13.3 นิ้วแบบ IPS ที่ความละเอียด 1600x900 พิกเซล รองรับการสัมผัสสูงสุด 10 จุด
  • ซีพียู Core i5 ULV จาก Intel สามารถอัพเกรดเป็น Core i7 ULV ได้
  • ชิปการ์ดจอ Intel HD 4000
  • แรมใส่ได้สูงสุด 8 กิกะไบต์
  • SSD ความจุ 128/256 กิกะไบต์
  • ตัวเครื่องหนา 17 มิลลิเมตร น้ำหนักรวม 1.5 กิโลกรัม
  • ติดตั้ง Windows 8 Professional

ใครสนใจสามารถจองผ่าน Best Buy ได้ตั้งแต่ 12 ตุลาคม ส่วนการวางจริงวันที่ 26 ตุลาคม สนนราคาเริ่มต้น 1,099 ดอลลาร์ (ราว 33,900 บาท)

ที่มา: Neowin, The Verge

ThinkPad Twist

  • หน้าจอ 12.5 นิ้วแบบ IPS ที่ความละเอียด 1366x768 พิกเซล
  • ซีพียู Core i5 จาก Intel สามารถอัพเกรดได้สูงสุดเป็น Core i7
  • แรมใส่ได้สูงสุด 8 กิกะไบต์
  • มีให้เลือกระหว่างฮาร์ดดิสก์ 320/500 กิกะไบต์ หรือ SSD 128 กิกะไบต์
  • มีการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย 3G ให้เลือกติดตั้งเพิ่ม
  • ตัวเครื่องหนา 20 มิลลิเมตร น่ำหนักรวม 1.58 กิโลกรัม

บริษัทจะวางขาย 26 ตุลาคมนี้เช่นกัน สนนราคาเริ่มต้นที่ 849 ดอลลาร์ (ราว 26,200 บาท)

ที่มา: Neowin, The Verge

Lenovo Lynx

  • หน้าจอ 11.6 นิ้วแบบ IPS ที่ความละเอียด 1366x768 พิกเซล รองรับการสัมผัสสูงสุด 5 จุด
  • ซีพียู Atom Z2760 ที่ 1.8 กิกะเฮิรตซ์จาก Intel
  • แรม 2 กิกะไบต์ แบบ DDR2
  • หน่วยความจำภายใน eMMC ความจุ 32/64 กิกะไบต์
  • แบตเตอรี่ในตัวแท็บเล็ตอยู่ได้ 8 ชั่วโมง หากต่อ keyboard dock จะอยู่ได้ 16 ชั่วโมง
  • ตัวเครื่องหนา 9.45 มิลลิเมตร น้ำหนักรวม 635 กรัม
  • Keyboard dock มากับแบตเตอรี่ 6,800 มิลลิแอมแปร์-ชั่วโมง น้ำหนักรวม 658 กรัม

บริษัทจะวางขายเดือนธันวาคมนี้ สนนราคาเริ่มต้นที่ 600 ดอลลาร์ (ราว 18,500 บาท) ส่วน keyboard dock ราคา 150 ดอลลาร์ (ราว 4,600 บาท)

ที่มา: Engadget, Neowin

Lenovo, Tablet, ThinkPad, Windows 8, Windows RT, IdeaPad, Yoga

[CES 2013] เลอโนโวเปิดตัว ThinkPad Helix, IdeaYoga 11S ชิปอินเทล

$
0
0

งาน CES 2013 ก็ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ เลอโนโวก็ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์หลากรุ่น เลยขอแบ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มแท็บเล็ตและอุปกรณ์ลูกผสมมาเล่าสู่กันฟังก่อน คือ ThinkPad Helix และ IdeaYoga 11S ดังนี้

ThinkPad Helix

  • หน้าจอ 11.6 นิ้ว Gorilla Glass ความสว่าง 400-nit รองรับการแสดงผลที่ 1080p พร้อม IPS
  • มีปากกาสไตลัส Wacom พร้อมสล็อตที่มากับตัวเครื่อง
  • ซีพียูอัพเกรดได้สูงสุด Core i7 สามารถโอเวอร์คล็อกได้อัตโนมัติเมื่อเสียบแท็บเล็ตเข้ากับ keyboard dock เนื่องจากชุดคีย์บอร์ดมีระบบระบายความร้อน
  • แรมสูงสุด 8 กิกะไบต์, SSD สูงสุด 256 กิกะไบต์
  • รองรับ 4G LTE, NFC
  • ระยะเวลาใช้งานต่อการชาร์จหนึ่งครั้งอยู่ที่ 10 ชั่วโมง (5 ชั่วโมงจากแท็บเล็ต อีก 5 ชั่วโมงจาก keyboard dock)
  • น้ำหนักแท็บเล็ต 835 กรัม ส่วนน้ำหนักรวม keyboard dock น้อยกว่า 1.8 กิโลกรัม
  • รัน Windows 8

สนนราคาเริ่มต้นที่ 1,499 ดอลลาร์ หรือราว 45,700 บาท จะวางขายรุ่นนี้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้

ที่มา: Engadget, The Verge

ThinkPad Helix ขณะกำลังประกอบแท็บเล็ตเข้ากับชุดคีย์บอร์ด

ThinkPad Helix แบบเสียบแท็บเล็ตกลับด้าน

IdeaPad Yoga 11S

เหมือนกัน IdeaPad Yoga 11ทุกประการ แต่เปลี่ยนมาใช้ชิปอินเทลแทน และติดตั้ง Windows 8 ตัวเต็มที่สามารถรันโปรแกรมเก่าได้เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ระยะเวลาใช้งานต่อการชาร์จหนึ่งครั้งจะลดลงจากรุ่นชิป ARM เหลือเพียง 6 ชั่วโมง เว็บไซต์ The Verge เสริมว่าเท่าที่ได้ลองจับ IdeaPad Yoga 11S พบว่าหน้าจอตอบสนองได้ดีกว่า IdeaPad Yoga 13

สนนราคาเริ่มต้นที่ 799 ดอลลาร์ หรือราว 24,000 บาท โดยราคานี้จะมากับ Core i3, แรม 4 กิกะไบต์, SSD 128 กิกะไบต์ จะวางขายรุ่นนี้ได้ในเดือนมิถุนายนของปีนี้

ที่มา: The Verge

Lenovo, CES 2013, Hybrid, Tablet, Windows 8, IdeaPad, Yoga, ThinkPad

รีวิว Lenovo IdeaPad Yoga 11 อัลตร้าบุ๊คพลัง Windows RT จากเลอโนโว

$
0
0

IdeaPad เป็นผลิตภัณฑ์ตระกูลหนึ่งของเลอโนโว ที่ทำออกมาเพื่อเน้นตลาดคอนซูเมอร์เป็นหลัก และตลอดเวลากว่า 5 ปีที่เลอโนโวทำตลาดอยู่ในกลุ่มนี้ เลอโนโวก็มีผลิตภัณฑ์ออกมามากมายหลายรูปแบบ เช่น แล็บท็อปหรือโน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และอัลตร้าบุ๊คเป็นต้น และในปีที่แล้ว เลอโนโวก็ได้เปิดตัวไลน์ต้นแบบ Convertible Ultrabook สำหรับ Windows 8 ขึ้นโดยเฉพาะ และนั่นก็กลายมาเป็น Lenovo IdeaPad Yoga อย่างที่จะได้เห็นในรีวิวนี้

เกริ่นนำ

สำหรับตระกูล IdeaPad Yoga มีจุดเด่นหลักอยู่ที่ความสามารถในการพลิกหน้าจอได้มุมกว้างสุด 360 องศา ซึ่งก็สามารถทำให้ผู้ใช้เลือกรูปแบบในการใช้งานตัวเครื่องได้หลากหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

Laptop Mode: โหมดพื้นฐานสำหรับการทำงานในทุกสถานที่

Stand Mode: โหมดที่เปลี่ยนจากอัลตราบุ๊คให้ไปเป็น Entertainment Center ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Tent Mode: โหมดสำหรับการนำเสนองาน ที่ทำให้คุณไม่พลาดในทุกโอกาสทองของคุณ

Tablet Mode: โหมดที่เปลี่ยนจากอัลตร้าบุ๊คไปเป็นแท็บเล็ตได้อย่างสมบูรณ์แบบ

สำหรับสเปคเครื่องของ Lenovo IdeaPad Yoga จะแบ่งออกเป็นสองรุ่น คือรุ่น 11 และรุ่น 13 โดยรุ่น 11 จะใช้ซีพียู NVIDIA Tegra 3 แบบควอดคอร์ความเร็ว 1.3 GHz แรมเครื่อง 2 GB SSD ขนาด 64 GB หน้าจอ IPS 11.6 นิ้วความละเอียด 1366x768 พิกเซล รองรับมัลติทัชได้ 5 จุด ตัวนี้จะรัน Windows RT พร้อมให้ Office 2013 Home&Student RT มาให้ในตัว

ส่วนรุ่น 13 จะแบ่งเป็นสองเกรด คือรุ่นปกติ กับรุ่นท็อป รุ่นปกติจะใช้ซีพียู Intel Core i5-3317U ความเร็ว 1.7 GHz ส่วนรุ่นท็อปจะใช้ซีพียู Intel Core i7-3517U ความเร็ว 1.9 GHz ส่วนสเปคนอกนั้นจะเหมือนกันทั้งสองเกรด คือแรมเครื่อง 4 GB SSD ขนาด 128 GB หน้าจอ IPS ขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 1600x1900 พิกเซล รองรับมัลติทัชได้ 5 จุด และรัน Windows 8 ตัว Single Language แทน และสามารถอัพเกรดไป Windows 8 Pro ได้ ถ้าต้องการ

รูปลักษณ์ภายนอก

รูปลักษณ์ภายนอกของ Lenovo IdeaPad Yoga (ตัวนี้เป็น IdeaPad Yoga 11) มีรูปร่างคล้ายๆ กับโน็ตบุ๊คทั่วไป แต่มีความบางของเครื่องในแบบบางพิเศษ และมีน้ำหนักเครื่องที่ค่อนข้างเบา ทำให้พกพาไปไหนมาไหนได้ค่อนข้างสะดวก

บอดี้ของ Lenovo IdeaPad Yoga จะเป็นผิวยางผสม เพื่อทำหน้าที่เป็นฐานป้องกันการขูดขีดของตัวเครื่องเวลาที่เปลี่ยนไปเป็นโหมดแท็บเล็ต หรือโหมด Standing เป็นต้น รวมถึงการที่เป็นยาง ทำให้ความร้อนของตัวเครื่องไม่ค่อยมาสะสมอยู่บริเวณแป้นพิมพ์ ทำให้เวลาใช้งานจะไม่ค่อยรู้สึกร้อนเหมือนโน้ตบุ๊คทั่วๆ ไป


เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมา ถ้าตัวเครื่องเปิดอยู่ หน้าจอจะติดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ หน้าจอของ IdeaPad Yoga 11 มีขนาดอยู่ที่ 11.6 นิ้ว ครอบทับด้วยกระจกทั้งแผ่น และบริเวณหน้าจอยังมีกล้องเว็บแคมขนาด 1 ล้านพิกเซล เพื่อใช้ในการ Video Call หรือ Video Conference เป็นหลัก และยังมีเซ็นเซอร์รับแสงอยู่มุมขวาบนเพื่อปรับเพิ่ม-ลดแสงของหน้าจอให้เหมาะสมกับการใช้งาน และมีปุ่ม Start อยู่ตรงกลางจอเพื่อใช้ย้อนกลับสู่ Start Menu เวลาใช้งานในโหมดแท็บเล็ต


คีย์บอร์ดของ IdeaPad Yoga จะเป็นแบบ AccuType Keyboard แบบเดียวกับที่ใช้ใน IdeaPad และ ThinkPad หลายๆ รุ่น เพียงแต่คีย์ฟังก์ชั่นจะไม่ได้เป็นแบบโน้ตบุ๊คทั่วๆ ไป เวลาที่จะใช้งานต้องกดปุ่ม fn เพื่อใช้งานคู่กันเสมอ ความเร็วในการตอบสนองถือว่าใช้ได้พอสมควร ส่วนแทรคแพดจะเป็นพลาสติกผสมยางชิ้นเดียว เวลาใช้งานแทรคแพดจะตอบสนองค่อนข้างดี และไม่ดูดนิ้วผู้ใช้จนเกินไป


ด้านข้างๆ ของตัวเครื่อง เริ่มจากด้านซ้ายมือจะประกอบไปด้วยพอร์ต 3.5 มม. สำหรับเสียบหูฟัง โดยรองรับหูฟังที่มีขั้ว 3 เส้นสำหรับการใช้งานไมโครโฟนด้วย และยังมีพอร์ต USB/HDMI ช่องไมโครโฟน ลำโพงด้านซ้าย และปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง ที่เวลาใช้งานในโหมดโน้ตบุ๊คจะกดปกติ แต่เวลาใช้งานในโหมดแท็บเล็ต จะต้องกดกลับด้าน คือกดขึ้นเพื่อลดเสียง และกดลงเพื่อเพิ่มเสียง

ด้านหน้ามีไฟบอกสถานะของแบตเตอรี่ และปุ่ม Power สำหรับเปิด/ปิด และเข้าสู่โหมด Standby

ด้านขวาจะประกอบไปด้วยพอร์ตสำหรับเสียบสายชาร์จตัวเครื่อง สล็อต SD Card พอร์ต USB ลำโพงด้านขวา และปุ่มสำหรับล็อกหน้าจอไม่ให้ Rotate ไปๆ มาๆ

ด้านหลังไม่มีอะไร

อแดปเตอร์ของ Lenovo IdeaPad Yoga มีขนาดอย่างที่เห็น ขนาดรวมๆ จะเล็กกว่า IdeaPad ทั่วๆ ไป พอร์ตสำหรับเสียบเพื่อชาร์จตัวเครื่องจะเหมือนพอร์ต USB ไม่ผิดเพี้ยนครับ และที่อแดปเตอร์ตัวนี้จะติดสติ๊กเกอร์ของ Windows RT อยู่ด้วย เพื่อระบุว่าตัวเครื่องใช้ Windows RT (ส่วนรุ่น 13 ก็จะติดสติ๊กเกอร์ Windows 8 แทน)

ขนาดเทียบกับ Lenovo IdeaPad Z470 ที่ผมใช้งานอยู่เป็นปกติ จะเห็นได้ว่ามีขนาดที่เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด


ความบางโดยรวมของตัวเครื่องถือว่าบางจริงอะไรจริงครับ และด้วยการออกแบบแกนตัวเครื่องที่ค่อนข้างแข็งแรงของเลอโนโว ทำให้ถือ IdeaPad Yoga แบบมือเดียวได้โดยไม่ต้องเกรงใจสายตาคนรอบข้างกันเลยทีเดียว

เรื่องน้ำหนัก ถือว่า Lenovo IdeaPad Yoga น้ำหนักไม่ค่อยหนักมาก สามารถพกพาได้อย่างสะดวกโดย น้ำหนักรวมๆ ของตัวเครื่องอยู่ที่ 1.2 กิโลกรัมเท่านั้น ถ้าพกอแดปเตอร์ไปด้วยก็รวมๆ อยู่ที่ 1.4 กิโลกรัมเท่านั้นครับ

การใช้งานจริง

ในเรื่องของการใช้งาน อย่างที่บอกไปว่า Lenovo IdeaPad Yoga แบ่งรุ่นขายออกเป็นสองรุ่น คือรุ่น 11 และรุ่น 13 โดยรุ่น 11 จะมาพร้อม Windows RT และ Office 2013 Home and Student RT ส่วนรุ่น 13 จะมาพร้อม Windows 8 ตัวเต็มที่สามารถรันโปรแกรม Desktop ได้ตามปกติ ดังนั้นในการใช้งานของทั้งสองรุ่น แทบไม่แตกต่างกันมากเลย ความแตกต่างมีเพียงแค่รันโปรแกรมเดสก์ท็อปได้หรือไม่ได้เท่านั้น ดังนั้นการใช้งานในฝั่งซอฟต์แวร์ สามารถอ่านได้จากรีวิว Windows 8

ในด้านแบตเตอรี่ของ Lenovo IdeaPad Yoga ถือว่าทำออกมาได้ค่อนข้างทนทีเดียว เพราะตัวเครื่องสามารถอยู่ได้ถึง 1 วันแบบสบายๆ ถ้าไม่ใช้งานอะไรมาก เช่นท่องเว็บ ทำงาน อ่านเอกสารเป็นต้น แต่ถ้าเข้า YouTube บ้าง ก็อย่างมาก 9-10 ชั่วโมงก็สามารถใช้งานได้อย่างปกติ และความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่ตัวเครื่องกลับเข้าไป สามารถทำได้รวดเร็วมาก ซึ่งเป็นจุดเด่นเดิมที่เลอโนโวทำไว้กับโน้ตบุ๊คหลายๆ รุ่น ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง ตัวเครื่องก็พร้อมสำหรับนำไปใช้งานต่อได้เลย

สรุป

Lenovo IdeaPad Yoga ถือว่าเป็น Convertible Ultrabook ตัวแรกที่ออกแบบมาได้ถูกใจผู้ใช้งานมากที่สุด ทั้งในเรื่องของความบาง ในเรื่องของความทนทาน และในเรื่องของแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นานแบบไม่เกรงใจใคร และด้วยความสามารถเหล่านี้ น่าจะทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงานสูงถูกใจไม่น้อย กับประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก IdeaPad Yoga เครื่องนี้

และในอนาคต Windows RT และ Windows 8 ยังสามารถอัพเกรดขึ้นไปเป็น Windows RT 8.1 และ Windows 8.1 ได้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าอัพเกรดแต่อย่างใด ดังนั้นทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้เลยว่า จะได้รับการสนับสนุนที่ดีจากทั้งเลอโนโว และไมโครซอฟท์แน่นอน

Lenovo IdeaPad Yoga วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ในราคา 15,900 บาท พร้อมประกัน 2 ปี สำหรับรุ่น 11 และในราคา 38,900 บาท และ 41,900 บาท พร้อมประกัน 2 ปี สำหรับรุ่น 13 ที่ใช้ Core i5 และ i7 ตามลำดับ

Advertorial, Lenovo, Yoga, IdeaPad, Review, Ultrabook

Lenovo เปิดตัว Yoga 900S โน้ตบุ๊กพับจอ 360 องศา รุ่นบางที่สุดในโลก

$
0
0

เมื่อปลายปีก่อน Lenovo เพิ่งเปิดตัว IdeaPad Yoga 900โน้ตบุ๊กพับจอ 360 องศารุ่นใหม่ที่แก้ไขข้อด้อยจากปีก่อน ด้วยการอัพสเปคให้แรงขึ้น และปรับคีย์บอร์ดกลับไปครบเครื่องเหมือนเดิม แต่ก็ยังไม่ละความพยายามจะทำเครื่องรุ่นบางเบา ล่าสุดเปิดตัว Yoga 900S ที่เคลมว่าเป็นโน้ตบุ๊กพับจอ 360 บางที่สุดในตลาดออกมาแล้ว

Yoga 900S น่าจะเรียกได้ว่าเป็นรุ่นใหม่ที่ออกมาแทน Yoga 3 Pro อย่างแท้จริง ตัวเครื่องใช้วัสดุเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ และบานพับแบบนาฬิกาตามเดิม แต่ตัวเครื่องเล็กลงเล็กน้อยจากขนาดหน้าจอที่หดเหลือ 12.5"ตัวเครื่องเบาเพียง 998 กรัม และหนาเพียง 12.7 มม. เท่านั้น ส่วนสเปคอื่นๆ มีดังนี้

  • หน้าจอสัมผัสขนาด 12.5"ความละเอียด QHD รองรับสไตลัส
  • ซีพียู Core m7
  • SSD ความจุสูงสุด 512GB, แรมสูงสุด 8GB
  • พอร์ต USB Type-C, USB 3.0 และ พอร์ตชาร์จไฟที่ใช้เป็น USB 2.0 อย่างละพอร์ต
  • ใช้งานได้ต่อเนื่อง 10 ชั่วโมงครึ่ง

Lenovo เปิดราคา Yoga 900S มาที่ 1,099 เหรียญ เริ่มขายเดือนมีนาคมนี้

ที่มา - The Verge

IdeaPad, Lenovo, Notebook
Viewing all 37 articles
Browse latest View live


Latest Images